top of page
URBAN DESIGN &
MASTER PLANNING
Urban Design เป็นการพัฒนา พื้นที่เฉพาะโดยเฉพาะที่เป็นบล็อกหรือตามพื้นที่ชายขอบ (edge) การจัดกลุ่มอาคารและที่ว่าง เพื่อการสร้างพื้นที่สาธารณะ (public space) ในแนวทาง ‘place-making’ ร่วมกับงานการอนุรักษ์ (conservation) พื้นที่ที่มีคุณค่าทางวัฒนธรรมเป็นสำคัญอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม สาระเหล่านี้จัดได้ว่าเป็นงาน
ในแนว “traditional urban design” ที่ไม่เป็นการเพียงพอต่อ การรองรับปรากฎการณ์การเปลี่ยนแปลงสู่ความเป็น
เมืองอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน
หากพิจารณาชุมชนเมืองว่ามาจากชุมชนท้องถิ่น ผ่านกระบวนการเปลี่ยนแปลงสู่การเป็นเมือง ย่อมกล่าวได้ว่า การออกแบบชุมชนเมือง มีจุดเน้นที่ต่างจากสถาปัตยกรรมผังเมืองโดยในกระบวนการ เป็นเมืองนั้น ความสำคัญอยู่ที่ประชาชนซึ่งเป็นศูนย์กลางของชุมชน (มิใช่งานสถาปัตยกรรม) และจำเป็นต้อง สร้างความเป็นชุมชนจากการสร้าง
ความรู้สึกเป็นเจ้าของ (sense of belonging) ด้วยการกำหนดอาณาเขต และความรู้สึกอยู่ร่วมกัน (sense of community) มีพื้นที่ส่วนใช้สอยสาธารณะเพื่อการทำกิจกรรมร่วมกัน ฯลฯ
การออกแบบและพัฒนาชุมชนเมือง ครอบคลุมดังต่อไปนี้:
- ชุมชนเมืองตลอดเส้นทางรถไฟความเร็วสูง
- ชุมชนเมืองตามความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนเมืองในภูมิภาคเดียวกัน และต่างภูมิภาค
- ชุมชนเมืองตามผังเมืองการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ เช่น ชุมชนชายแดน 5 แห่ง ที่มีการวางผังพื้นที่เฉพาะ
- แต่ละเมืองมีความเป็นชุมชนเมืองและอัตลักษณ์แตกต่างกันตาม ‘DNA’ เมืองที่สืบทอดกันมา จากรากเหง้า
ของท้องถิ่น แม้จะมีพื้นฐานทางวัฒนธรรมเดียวกัน
- เมืองมักมีย่านที่มีความชัดเจนในความเป็นย่าน ด้วยปัจจัยทำนองเดียวกัน เช่น ย่านธุรกิจ ย่านการเงิน
ย่านบันเทิง ย่าน ‘China town’ ฯลฯ
- เมืองมีชุมชนฝังตัวอยู่ในลักษณะเฉพาะ (enclave) ที่มีเสน่ห์น่าค้นหา เพราะมักไม่เป็นที่รู้จักมากนัก เช่น
ชุมชน ป้อมมหากาฬ ชุมชนบ้านครัว ฯลฯ
- ชุมชนเมืองในระดับย่อยลงไป คือ ชุมชนระดับละแวกบ้านหรือส่วนหนึ่งของหมู่บ้าน
bottom of page